นโยบายของเทศบาลเมืองสัตหีบ
1. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา ( สัตหีบสู่สังคมอุดมปัญญา)
- ส่งเสริมการเรียนการสอนในระบบสองภาษาและการใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียน
- สนับสนุนกีฬาให้เกิด ชมรม สมาคมกีฬา พัฒนาตั้งแต่พื้นฐานเพื่อสู่ความเป็นเลิศ
- ส่งเสริมฟื้นฟู อนุรักษ์ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เช่น งานลอยกระทง งานแห่และสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ในวันสงกรานต์ เทศกาลสัตหีบหรรษา
- ขยายโอกาสทางการศึกษา เช่น ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนยากจน และโครงการหนึ่งบัณฑิตหนึ่งชุมชน
2. นโยบายด้านสาธารณสุข (คนสัตหีบร่างกายแข็งแรงจิตใจแจ่มใส)
- สร้างศูนย์สุขภาพและศูนย์กีฬาระดับมาตรฐานครบวงจรพร้อมห้องสมุดประชาชนทันสมัย เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (e-library)
- ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพร้อมเจ้าหน้าที่/พยาบาล ดูแลอย่างอบอุ่นและใกล้ชิด จัดเบี้ยยังชีพสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่ยากจน
- ย้ายโรงฆ่าสัตว์ (ซอยบำรุงศิษย์) ออกนอกเขตชุมชน
- พัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นแกนนำ
- สร้างชุมชนปลอดโรค ปลอดขยะ ปลอดสุนัขจรจัด (ศูนย์พักสุนัข) โดยเริ่มเป็นชุมชนตัวอย่างและขยายขอบเขตต่อเนื่องให้ครอบคลุมพื้นที่เทศบาล
- สนับสนุนให้มีลานกีฬาย่อยในทุกชุมชน
3. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (ทะเลสวย หนองตะเคียนใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม)
- จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียและปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
- รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและดำเนินการเพื่อให้เกิดการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม โดยร่วมเป็นพันธมิตรสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นและนานาชาติ แสวงหาแหล่งทุนสนับสนุน เช่น โครงการ ICM และกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก
4. นโยบายด้านสังคมและความปลอดภัย (นอนสนิท กัลยาณมิตรเกื้อกูล)
- จัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยเทศบาล ร่วมกับทหาร ตำรวจ อปพร. หน่วยกู้ภัยและชุมชน จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วและยามท้องถิ่น ดูแลป้องกันอุบัติภัยและโจรกรรม
- ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด ในพื้นที่เสี่ยง เชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตภาพและเสียง เข้าศูนย์รักษาความปลอดภัยและโทรศัพท์มือถือของพันธมิตรความปลอดภัย
- ส่งเสริมสวัสดิการเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้พิการที่ขาดผู้อุปถัมภ์ในเขตเทศบาล
- ส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพทุกระดับ เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มประมงชายฝั่ง และการฝึกอบรมอาชีพๆ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบัน
- สนับสนุนให้กรรมการชุมชนร่วมกับคณะกรรมการบ้านจัดสรรที่เกิดใหม่ ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคร่วมกับเทศบาล
5. นโยบายด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน (สัตหีบน้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก)
- จัดสร้างระบบสาธารณูปโภค ถนน ท่อ ประปา ไฟฟ้าแสงสว่าง ให้ครอบคลุมทุกชุมชน
- สร้างระบบเครือข่ายการระบายน้ำจากต้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมซอยเขาเพชร, ยางงาม, รัตนวิจิตร, โชคชัย
- ขยายพื้นที่ถนนและจัดให้มีลานจอดรถมาตรฐานมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ลานจอดรถชายทะเล (หน้าสำนักงานที่ดิน, ตลาดเช้า) ลานจอดรถในวัดสัตหีบ
- ตั้งหน่วยซ่อมบำรุงสาธารณูปโภคเคลื่อนที่เร็ว กำหนดเวลาดำเนินการและ แล้วเสร็จ
6. นโยบายด้านเศรษฐกิจ (เศรษฐกิจชุมชน เข้มแข็งแสวงหานักท่องเที่ยว)
- ปรับปรุงสถานที่พักผ่อนชายทะเลดงตาล ให้สวยงามมาตรฐานเป็นจุดพักคอยและชมวิวพร้อมลานจอดรถที่สะดวกปลอดภัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก
- บูรณาการการท่องเที่ยวร่วมกับเขตทหาร โดยเทศบาลเป็นจุดเชื่อม จัดให้มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และใช้ระบบรักษาความปลอดภัย (บัตรผ่าน) ณ จุดเดียวพร้อมคู่มือนักท่องเที่ยว
- ส่งเสริมการประมงพื้นบ้านและประมงผสมผสาน เช่น กระชังหอยแมลงภู่ กระชังปลา โดยความร่วมมือทางวิชาการจากกรมประมงและส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบนิเวศน์วิทยา
- สนับสนุนให้สวนกรมหลวงชุมพรเป็นสถานที่พักผ่อนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก
- พัฒนา “เทศกาลสัตหีบหรรษา” ให้เป็นโครงการระดับประเทศเป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจในการแสดงของราชนาวีไทย ส่งเสริมอาหารอร่อยคู่สัตหีบ
7. นโยบายในการบริหารและบริการประชาชน
- กระจายอำนาจจากคณะผู้บริหารสู่สมาชิกสภาและชุมชนในทุกด้านเพื่อสนองความต้องการของประชาชน
- การปฏิบัติงานกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบเป็นเขต เช่น งานกองช่าง, กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติงานและประสานงานกับสมาชิกสภาเขตพื้นที่
- เพิ่มช่องทางข่าวสารประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น เช่น โทรศัพท์ร้องทุกข์ อินเตอร์เน็ต ตู้รับความเห็น ให้ประชาชนทราบ สอบถาม ร้องทุกข์และแนะนำได้
- สนับสนุนการจัดศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เช่น การให้บริการอนุญาตปลูกสร้างอาคารในเขตเทศบาลร่วมกับฐานทัพเรือสัตหีบ
พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น
“มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเมืองสัตหีบ ให้เป็นเมืองที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชุมชน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน”
เป้าประสงค์ (Goals)
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี มีสังคมที่เอื้ออาทร ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน
3. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้คุณภาพมีมาตรฐาน
4. ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานและผู้รับบริการพึงพอใจ